หลักสูตรสาระการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน
+
การออกแบบการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของสมอง
+
การบูรณาการองค์ความรู้ผ่านการปฏิบัติจาก
การทำโครงงานตามกระบวนการเรียนรู้แบบ Problem-based Learning
การเรียนรู้ทักษะภาษาไทย
เรียนรู้ด้วยทักษะพื้นฐานทางภาษา คือ การฟัง พูด อ่าน และเขียน ความแตกฉานทางภาษามีความสำคัญสำหรับการสื่อสารเพื่อใช้ในการเรียนรู้ศาสตร์อื่นๆ เริ่มต้นด้วย
โดยอ้างอิงให้สอดคล้องกับมาตรฐาน และตัวชี้วัดของหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อพัฒนาการคิดหลายระดับและการออกแบบการเรียนรู้เพื่อมุ่งสู่ความเข้าใจ (Teaching for Understanding)
ส่วนวิชาที่เป็นทักษะพื้นฐานได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และ คณิตศาสตร์ ได้แยกออกมาสอนเป็นรายวิชาเฉพาะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย , คณิตศาสตร์ , ภาษาต่างประเทศ , ศิลปะ
กลุ่มวิชาบูรณาการ
วิทยาศาสตร์ , สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม , การงานอาชีพและเทคโนโลยี , สุขศึกษาและพละศึกษา
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษ ถือว่าเป็นภาษาสากลของโลก ที่มนุษย์ทุกชาติทุกภาษาต้องเรียนรู้ จากอิทธิพลของความก้าวไกลทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร ส่งผลให้ภาษาอังกฤษยิ่งทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะถือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร การศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และยังก่อเกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกันในสังคมโลกได้อีกทางหนึ่งด้วย
การเรียนรู้คณิตศาสตร์
ทักษะทางด้านคณิตศาสตร์คือพื้นฐานของการเรียนรู้วิชาต่างๆ อีกทั้งเป็นพื้นฐานของการใช้ชีวิตประจำวัน การฝึกทักษะทางด้านคณิตศาสตร์จะส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านสมอง
แม้เราจะใช้การคิดคำนวณในชีวิตประจำวันไม่ถึง 3% แต่สิ่งสำคัญคือ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์จะเป็นทางนำไปสู่การพัฒนาทางด้านการคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงตรรกะ การแก้ปัญหา ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การมองเห็นรูปแบบต่างๆ ที่ซ่อนอยู่นอกเหนือจากสิ่งที่มองเห็นด้วยตา
Problem-based Learning (PBL)
PBL คือ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก
ในโรงเรียนทั่วไปเมื่อผู้เรียนพบ “ปัญหา” ก็มักจะตระหนก และหยุดแสวงหาความรู้เพิ่มเติม ส่งผลให้กรอบความคิดคับแคบ…แต่ที่โรงเรียนกาละพัฒน์ “ปัญหา” เป็นฐานในการเรียนรู้ และเป็นกระบวนการพัฒนาผู้เรียน ให้มีทักษะสำหรับการใช้ชีวิตในอนาคต
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based Learning) หมายถึง การเรียน การสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ปัญหาเป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
การออกแบบกระบวนการเรียนรู้
สำหรับกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้และการสอนนั้น เชื่อว่าการเรียนรู้ทำให้บุคคลงอกงามทั้งผู้เรียนและครู การเรียนรู้มีความหมายมากกว่าการฟัง และการสอนที่ดีต้องมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
นอกจากนี้โรงเรียนยังได้สร้างวิชาจิตศึกษาขึ้นมา เพื่อเน้นการเรียนรู้ด้านใน และเพื่อพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณ (SQ) ให้เกิดความเข้าใจชีวิต เห็นความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมของสิ่งต่างๆ กับมนุษย์ การปลูกฝังค่านิยมเชิงลึกในจิตใต้สำนึก และจัดกิจกรรมพัฒนาคลื่นสมองต่ำ (Low Brain Wave Learning) เพื่อเตรียมสมองให้พร้อมกับการเรียนรู้ ซึ่งกิจกรรมนี้จะจัด 30 นาที ก่อนเรียนทุกวัน
สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ใช้ควบคู่กันไปกับการออกแบบการเรียนแบบบูรณาการ คือการใช้จิตวิทยาแนวใหม่กับผู้เรียน ที่เน้นการปลูกฝังสิ่งที่ดีงามในจิตใต้สำนึก ลดการหลั่งสาร cortical ซึ่งเป็นสารยับยั้งการเรียนรู้โดยการลดการเปรียบเทียบระหว่างบุคคล ลดคำพูดด้านลบ ลดการทำให้กลัว ไม่ใช้ความรุนแรง แล้วสร้างภาพพจน์ด้านบวก ให้ได้รับความรักและให้พลัง
จากสิ่งสำคัญทั้งหมดที่กล่าวมา โรงเรียนกาละพัฒน์จึงได้ออกแบบตารางเรียนเป็น 3 ช่วง
ตารางเรียน 3 ช่วง
-
ช่วงเช้า เน้นการพัฒนา ความฉลาดทางด้านอารมณ์(EQ) และจิตวิญญาณ(SQ)
-
ช่วงสาย เน้นการพัฒนาความฉลาดทางด้านสติปัญญา (IQ)
-
ช่วงบ่าย เน้นการพัฒนาความฉลาดทางด้านร่างกาย (PQ)