top of page

วิถีกาละพัฒน์

PBL
DSC_2743.jpg

รายวิชาบูรณาการโครงงาน (Problem Based Learning)

เป็นหน่วยการเรียนแบบบูรณาการที่ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้จากปมปัญหาสู่ปัญญา เพราะสังคมโลกนับวันจะยิ่งซับซ้อนขึ้น จำนวนปัญหาจะมากขึ้น ซับซ้อนขึ้น ยุ่งเหยิงขึ้น กระบวนการเรียนรู้โดย PBLจะทำให้ผู้เรียนไม่ตื่นกลัวกับปัญหา มองปัญหาเป็นเรื่องท้าทายซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความเข้าใจต่อปัญหา และหาวิธีการแก้ปัญหา กระบวนการทำความเข้าใจต่อปัญหา และกระบวนการหาวิธีการหรือนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนจะต้องใช้ความรู้อันหลากหลาย (Multi Knowledge) และทักษะที่หลากหลาย (Multi skills) ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเข้าถึงความเข้าใจหลักของเนื้อหาชุดนั้น และเกิดทักษะอันหลากหลายที่จำเป็นสำหรับศตวรรษใหม่ (21st Century Skills) ได้แก่

  • ทักษะการเรียนรู้และการเรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

  • ทักษะการสังเคราะห์ข้อมูลและการจัดการความรู้

  • ทักษะชีวิต

  • ทักษะ IT

  • ทักษะสังคม การทำงานร่วมกัน

  • การจัดการความขัดแย้ง

  • การสื่อสาร

  • การคิดหลายระดับ

  • การสร้างปัจจัยการดำเนินชีวิต

  • การดูแลสุขภาพ

  • การแสวงหาข้อมูล

  • การปรับตัว

  • การออกแบบวิถีชีวิต

  • อุปนิสัย

  • การชี้นำตนเอง

  • จิตสำนึกต่อคนอื่น

  • วัฒนธรรมอื่นและต่อโลก

ซึ่งร้อยเรียงความรู้ผ่านหน่วยการเรียนต่างๆ แยกออกเป็น 4 หน่วย ดังนี้

DSC_9312.JPG

4. ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (Empathy) 

ถือเป็นทักษะหนึ่งที่ไม่ได้มีกันทุกคน แต่ก็เป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้และแม้เพียงแค่ความพยายามที่จะมี empathy ก็เป็นสิ่งที่งดงามและน่าชื่นชม สิ่งที่จับได้ว่ามีเกิด Empathy คือ สนใจ ถามไถ่ในความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ของผู้อื่น มีความประสงค์ที่จะรับรู้และเข้าใจ พร้อมที่จะรับฟัง เพื่อให้เราสามารถหยั่งถึงความรู้สึกของผู้อื่นนั้นได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว empathy เป็นสิ่งที่ทำหน้าที่เชื่อมประสานโยงใยความเข้าใจและความรู้สึกนึกคิดระหว่างผู้คนจากทุกพื้นเพ เพศ วัย และสังคม ได้อย่างประเสริฐยิ่ง

2. ปรากฏการณ์ (Phenomenon)

เป็นเรื่องราวความหลากหลายของสิ่งแวดล้อมต่างๆ นานาชนิด สสาร องค์ประกอบ เซลล์ แร่ธาตุ ก๊าซ พลังงาน ดิน น้ำ ลม ไฟ สิ่งมีชีวิตนานาพันธุ์ ระบบสุริยะ และจักรวาล ซึ่งมีสิ่งต่างๆ มากมาย มีความซับซ้อนในรูปร่าง ลักษณะ คุณสมบัติ การเปลี่ยนแปลง คุณค่าความสำคัญ เรียนรู้ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในการสังเกต ตั้งคำถาม วางแผน ใช้อุปกรณ์ในการสำรวจตรวจสอบ จัดกลุ่มข้อมูล แสดงความคิดเห็น บันทึก สรุปผล และอธิบายผล สื่อสารและนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ และรู้จักใช้ประโยชน์ของทรัพยากรในท้องถิ่น ประเทศ และโลก ได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

1. สังคม (Social)

เริ่มจากจุดเล็กๆ ที่เป็นตัวเอง เข้าใจความเป็นตัวตน เห็นคุณค่าและบทบาทหน้าที่ เรียนรู้ที่จะรู้จักผู้อื่นในครอบครัว เพื่อนๆ บุคคลหลากหลายอาชีพจากชุมชนรอบๆ ตัว จังหวัด ภูมิภาค ประเทศ ทวีป และโลก ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวพันเชื่อมโยงกันโดยมีลักษณะความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันหลายรูปแบบ เช่น อาชีพ อายุ เพศ ศาสนา ฐานะ ที่อยู่อาศัย และมักจะมีวัฒนธรรมหรือประเพณีรวมถึงภาษา การละเล่น และอาหารการกินของตนเองในแต่ละสังคม การที่มนุษย์รวมกันเป็นสังคมนั้น แต่ละคนเป็นเสมือนกลไกการขับเคลื่อนซึ่งกันและกัน ช่วยให้มนุษย์สามารถสร้างและพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จได้

3. ทักษะชีวิต (Life skill) 

คือ เห็นอกเห็นใจผู้อื่นโดยไม่ต้องบอก เป็นความสามารถขั้นพื้นฐานของบุคคลในการปรับตัวและมีพฤติกรรมเลือกทางเดินชีวิตที่เหมาะสมในการที่จะเผชิญกับสิ่งท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพในสภาพสังคมปัจจุบัน และเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคต โดยใช้ความรู้ เจตคติ การจัดการกับความเครียด และทักษะในการจัดการกับปัญหารอบตัว ได้แก่ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ความตระหนักในตนเอง การจัดการกับอารมณ์ การใช้อุปกรณ์ในการทำงานได้อย่างถูกวิธีและระมัดระวัง ความปลอดภัยในการทำงาน ทั้งนี้ต้องผ่านกระบวนการทำงานและฝึกฝนตนเองเป็นประจำและสม่ำเสมอ

Our Tests

แนวคิด
การพัฒนาผู้เรียน

ในการพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ โรงเรียนกาละพัฒน์มีกระบวนการบ่มเพาะความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์โดย เน้นความแข็งแกร่งทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อพัฒนาความสามารถดังต่อไปนี้

1. ความสามารถในการสื่อสาร

เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคมรวมทั้งการพิพาทย์อย่างสร้างสรรค์และต่อรองแบบบูรณาการ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้องตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม

2. ความสามารถในการคิด

เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม

 

3. ความสามารถในการแก้ปัญหา

เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ ในสังคม การแสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

 

4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่างๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงานและการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลการจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น

 

5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

เป็นความสามารถในการเลือก และใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม

โรงเรียนกาละพัฒน์มีกระบวนการบ่มเพาะความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์โดย เน้นความแข็งแกร่งทั้งร่างกายและจิตใจ

DSC_2625.jpg
bottom of page